วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ภาษาภาพยนตร์ : องค์ประกอบของภาพยนตร์

ภาพยนตร์เป็นศิลปะ(Art) เป็นวัฒนธรรม (Culture) และ เป็นสื่อสารมวลชน(Mass Communication) ในรูปแบบของสื่อมวลชน ( Mass Media) อย่างหนึ่ง ซึ่งมีบทบาทในการสื่อ
สารหรือนำสาร(Message) อันได้แก่ ข้อมูล เรื่องราว ความรู้ ความหมาย ความคิด ตลอดจนอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ไปสู่ผู้ชม ภาพยนตร์สามารถสื่อสาร เข้าถึง และทำความเข้าใจกับผู้
คนได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกชาติทุกภาษา ทุกชนชั้นของสังคมและทุกวัฒนธรรมได้ แม้แต่กระทั่ง
คนที่อ่านหนังสือไม่ออก หรือมีความแตกต่างกันทางเชื้อชาติ ภาษา หรือวัฒนธรรม ก็สามารถ
เข้าใจเรื่องราว ความหมาย และซึมซับเอาอารมณ์และความรู้สึกที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ได้
ด้วยภาพยนตร์นั้นสื่อสารหรือสื่อความหมายเป็นภาษาสากล โดยใช้ภาพ(Image) และเสียง(Sound)เป็นหลัก
ภาษา (Language)
เป็นระบบสัญลักษณ์อย่างหนึ่ง มนุษย์ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารหรือสื่อความหมาย(meaning)ซึ่งกันและกัน ซึ่งภาษาที่มนุษย์ใช้ติดต่อสื่อสาร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ1) วัจนภาษา (Verbal Language) หมายถึง ภาษาพูดหรือภาษาเขียน ที่ออกเสียงหรือเขียนเป็นพยางค์ เป็นถ้อยคำ หรือเป็นประโยคที่มีความหมายสามารถเข้าใจได้ เช่น คำพูด คำสนทนา ข้อความ ฯลฯ เป็นต้น ..... 2) อวัจนภาษา (Non-Verbal Language) หมายถึง ภาษาที่ไม่ออกเสียงเป็นถ้อยคำหรือประโยคคำพูด หรือการเขียนเป็นตัวอักษร คำ หรือข้อความแต่สามารถสื่อความหมาย เกิดความรู้สึกและความเข้าใจ เช่น การใช้สีหน้า ท่าทาง หรือสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นต้น
ภาษาภาพยนตร์ (Film Language)
Christian Metz นักทฤษฎีสัญญศาสตร์ด้านภาพยนตร์(film semiologist) ที่มีชื่อเสียงชาว
ฝรั่งเศส ได้อธิบายว่า ที่คนเราเข้าใจภาพยนตร์นั้น "ไม่ใช่เพราะว่า ภาพยนตร์เป็นภาษา จึงสามารถบอกเล่าเรื่องได้โดยสมบูรณ์ แต่ตรงกันข้าม ภาพยนตร์กลายเป็นภาษา จากการที่ภาพยนตร์ได้มีการเล่าเรื่องได้อย่างสมบูรณ์แล้ว" (Monaco,1981:127)
การที่ภาพยนตร์สามารถสื่อสารเรื่องราว ความหมาย อารมณ์และความรู้สึกให้ผู้ชมเข้า
ใจในสิ่งที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์ได้ นั่นเพราะภาพยนตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง เรียกว่า ภาษาภาพยนตร์ (Film Language) แต่ภาษาภาพยนตร์ ไม่ใช่ภาษาทั่วไป และไม่ได้ใช้หลักไวยกรณ์ เช่นเดียวกับภาษาปกติทั่วไปในการสื่อสารหรือสื่อความหมาย เช่นเดียวกับภาษาไทย ภาษาจีนภาษาอังกฤษ ฯลฯ หากแต่ภาพยนตร์มีวิธีการสื่อความหมายหรือมีภาษาเฉพาะเป็นของตนเอง
จากแนวคิดของ Metz นั้น ถือว่า ภาพยนตร์ไม่ใช่ภาษาที่แท้จริง( film is not a true
language)แต่ภาพยนตร์มีระบบการสื่อความหมาย (Signification System)(Andrew,1976:219)
ซึ่งสำหรับนักทฤษฎีสัญญศาสตร์ (semiologist) นั้น มองภาษาภาพยนตร์เป็นระบบสัญลักษณ์
(Sign System)อย่างหนึ่ง ภาพยนตร์จะสื่อความหมายในรูปของ สัญลักษณ์(Signs) และการเชื่อมโยงสัญลักษณ์ต่างๆเข้าด้วยกันให้เกิดความหมายหรือวากยสัมพันธ์ (Syntax) (Monaco,
1981:140) เช่นเดียวกันกับภาษาทั่วไปที่ทำการเลือกและรวมส่วนที่เล็กที่สุดของของหน่วยภาษา (phonemes) และส่วนที่ใหญ่ของหน่วยภาษา (morphemes) เพื่อสร้างรูปประโยค ภาพยนตร์จะใช้การเลือกและทำการประกอบภาพและเสียง(images and sounds)ต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์เกิดเป็นรูปประโยคทางภาษาสัญลักษณ์(syntagmas)การปฏิสัมพันธ์ของปัจจัยหรือองค์ประกอบของสัญลักษณ์ก่อให้เกิดความหมาย ถือเป็นหน่วยหนึ่งของการเล่าเรื่อง(units of narrative autonomy) (Stam, Robert and Sandy, 1992:37) จากหน่วยหนึ่งของการเล่าเรื่อง เมื่อนำหลายๆหน่วยของการเล่าเรื่องมาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน ก็จะเกิดเป็นภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่สามารถ
สื่อสาระและความบันเทิงไปยังผู้ชมให้เกิดความเข้าใจร่วมกันได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น